เจ้าพ่อการตลาด : การประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
"เจ้าพ่อการตลาด" เป็นงานเขียนประเภทนวนิยายของไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ โดยนำเสนอเรื่องราว
ผ่านตัวละครเอก(Character) "สมชาย" ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับแวดวงเชิงธุรกิจ กลยุทธ์และแนวคิดทางการตลาด โดยสอดแทรกหลักการและคติธรรมไปตลอดทั้งเรื่อง
แม้ว่าเรื่อง "เจ้าพ่อการตลาด" จะเป็๋นงานเขียนนวนิยายในเชิงธุรกิจ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สะท้อนให้เห็นในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ สภาพการจัดการศึกษาที่มีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และรวมทั้งประสบการณ์ตรงของตัวละคร ที่ช่วยผลักดันให้สามารถผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งหลายทั้งปวงไปได้ จนประสบความสำเร็จในที่สุด
เจ้าพ่อการตลาด : ภาพสะท้อนแนวคิดปรัญาการศึกษาไทย
จากแนวคิดของตัวละครหลักของเรื่อง เจ้าพ่อการตลาด คือ แนวคิดว่าด้วยการพัฒนาตนเอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง กาเรรียนรู้ตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมรอบตัว และได้นำเอาความรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับหลักปรัชญาการศึกษาในกลุ่มสาขาเสรีนิยม คือ ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)
แนวคิดของ ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism) มีดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนนิยมนี้ จะมองระบบการศึกษาว่า จะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญาควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากทีี่สุด สิ่งที่เรียนที่สอนควรเป็นประโยชน์สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียนให้มากที่สุด ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้งอเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหา
2. องค์ประกอบของการศึกษา
ก. หลักสูตร
หลักสูตรในแนวปรัชญาสาขานี้เน้นทีประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นหลักสำคัญ ประสบการณ์นั้นควรเป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม และเด็กได้มีส่วนโดยตรงในประสบการณ์นั้น หลักสูตรในแนวนี้จึงมักจะเรียกว่าเป็นหลักสูตร Child-center Curriculum หรือ Activity-center Curriculum
ข. ครู
ครูในปรัชญาสาขานี้จะต้องมีหน้าที่คือ เตรียมม การแนะนำสิ่งต่าง ๆ และากรให้คำปรึกษาเป็นหลัก โดยจะคอยกระตุ้น หนุน และหนี และจะต้องแสดงบุคคลิกภาพที่ดี เห็นอกเห็นใจ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ค.นักเรียน
ปรัชญาในสาขานี้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้หากนักเรียนได้ลงมือกระทำ (Learning by doing)
3. กระบวนการศึกษา
ก. กระบวนการเรียนการสอน
จะเน้นกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองให้มากที่สุด การเรียนการสอนควรเป็นเรื่องกระทำ (Doing) มากกว่า ความรู้ (Knoeladge)
ข. กระบวนการบริหาร
จะเน้นการบริหารในรูปแบบของ การร่วมมือกัน (Particpation and Shared Authority)
ค. บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน
การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม แต่จะปรับปรุงหรือปฏิรูปแบบไหน อย่างไรนั้นก่อนอื่นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสังคมเสียก่อน
กล่าวโดยสรุป แนวคิดของสมชาย มีลักษณะที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง จะต้องทำงานหรืออะไรบางอย่างอยู่ตลอด และปรับตัวเพื่อให้ได้ความรู้แม้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปก็ตาม แสดงให้เห็นถึงการยึดปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม (Progressivism) นั่นเอง
เจ้าพ่อการตลาด : เเนวทางการพัฒนาหลักสูตร
แม้ว่าเนื้อหาเรื่องเจ้าพ่อการตลาดจะสะท้อนภาพสังคมการค้าขายเชิงธุรกิจ และการตลาดต่าง ๆ อย่างไรก็ตามหากย้อนไปวิเคราะห์สภาพสังคมการศึกษาของตัวละครจะพบว่า วงการการศึกษาของไทยในสมัยดังกล่าวยึดหลักการพัฒนาหลักสูตรตามของไทเลอร์ (Ralph W,Tyler) ที่กล่าวถึงคำถามพื้นฐาน 4 คำถาม คือ
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่โรงเรียนควรจะบรรลุคืออะไร
2. ประสบการณ์ทางการศึกษาที่ควรจะจัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา คืออะไร
3. ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านี้จะจัดให้มีประสิทธิภาพอย่างไร
4. จะตัดสินได้อย่างไรว่าบรรลุจุดมุ่งหมายแล้ว
(Ralph W,Tyler, 1949,84)
จากคำถามทั้ง ไทเลอร์ (Ralph W,Tyler) 4 ข้อนี้ แสดงถึง 4 ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเรียงตามลำดับ ดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย/เป้าหมาย
2. เลือกแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมาย
3. จัดแนวทางเหล่านั้น
4. ประเมินผลที่ได้รับ
เมื่อได้ตกผลึกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ ไทเลอร์ (Ralph W,Tyler) แล้วจะทำให้เขั้นตอนการทำงานของตัวละคร "สมชาย" ในเรื่องเจ้าพ่อการตลาดที่ได้ทำตามขั้นตอนตามแนวคิดของไทเลอร์ (Ralph W,Tyler) ดังนี้
คำถามพื้นฐาน 4 ข้อ
|
ขั้นตอนการทำงานของสมชาย
|
1.จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่โรงเรียนควรจะบรรลุคืออะไร
|
ศึกษาความต้องการของตลาด
|
2.
ประสบการณ์ทางการศึกษาที่ควรจะจัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา คืออะไร
|
การวางแผนกำหนดกรอบการดำเนินงาน
|
3.
ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านี้จะจัดให้มีประสิทธิภาพอย่างไร
|
การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินงาน
|
4.
จะตัดสินได้อย่างไรว่าบรรลุจุดมุ่งหมายแล้ว
|
การประเมินการตลาด
|
จากตารางข้างต้น สรุปได้ว่า ขั้นตอนการดำเนินงานของสมชายสอดคล้องตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์ (Ralph W,Tyler) ซึ่งทำให้สมชายประสบความเสร็จในที่สุด
บทสรุป
นวนิยายเเนวธุรกิจเรื่อง เจ้าพ่อการตลาด ของ ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ให้ความรู้เรื่องปรัชญาการศึกษาในกลุ่มเสรีนิยม คือ ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism และสะท้อนให้เห็นเส้นทางอันนำไปสุ่ความสำเร็จของตัวละครที่สอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ ไทเลอร์ (Ralph W,Tyler) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าจะเป็นนวนิยายเชิงธุรกิจ อย่างไรก็เส้นทางอันจะนำไปสู่เป้าหมาย (goal) ย่อมเเสดงให้เห็น อุปสรรคต่าง ๆ ที่จะต้องเผชิฐและบรรลุเป้าหมายตรามที่ต้องการ
เอกสารอ้างอิง
ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ. (2532). เจ้าพ่อการตลาด.กรุงเทพฯ: สารมวลชล.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Tyler, Ralph W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction.Chicago:
The University of Chicago press.
โดย : นายสง่า วงค์ไชย รหัสนักศึกษา 57255911
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มการสอนภาษาไทย)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น