IV ปฏิบัติการประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)




IV ปฏิบัติการประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)

          การปฏิบัติการขั้นการประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นขั้นตอนการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ (Tyler) คือประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
               
๑. การทำความกระจ่างชัดในความรู้
            การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมจ้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตร ในการประเมินหลักสูตรได้ศึกษาข้อมูล ดังนี้

          ๑. แนวคิดการประเมินหลักสูตร
                   ๑.๑ แนวคิดการประเมินหลักสูตรของ วิชัย วงษ์ใหญ่ (๒๕๕๔) กำหนดไว้ ๓ ขั้นตอน คือ
                             ๑.๑.๑ การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้          ๑) กำหนดจุดมุ่งหมายการประเมินหลักสูตร ๒) วางแผนดำเนินการประเมิน ๓) ทดลองใช้หลักสูตรฉบับร่าง  ๔) การประเมินผลจากการทำลองใช้
                             ๑.๑.๒ การประเมินหลักสูตรระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร มีแนวคิดการประเมินไว้ ๓ ประเด็น คือ ๑) การประเมินระบบบริหารและการจัดการหลักสูตร ๒) การประเมินการจัดกระบวน                     การเรียนการสอน ๓) การประเมินระบบบริหารและวิธีการนิเทศกำกับดูแล
                             ๑.๑.๓ การประเมินหลักสูตรหลังนำหลักสูตรไปใช้

                   ๑.๒ แนวคิดการประเมินหลักสูตรของสคริเวน (Scriven, 1976)
                             ได้เสนอแนวคิดการประเมินหลักสูตรไว้ ๒ ประเด็น คือ
                             ๑.๑.๑ การประเมินระหว่างโครงการ (Formative Evaluation)
                             ๑.๑.๒ การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)

                   ๑.๓ แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแกลทอร์น (Glatthorn, 2009)  
                             ได้เสนอขั้นตอนการประเมินหลักสูตรเพื่อพัฒนาไว้ ๕ ขั้นตอน คือ
                             ๑.๓.๑ การเตรียมประเมินหลักสูตร
                             ๑.๓.๒ ประเมินบริบทของหลักสูตร
                             ๑.๓.๓ กำหนดประเด็นการประเมิน
                             ๑.๓.๔ ออกแบบการประเมินหลักสูตร
                             ๑.๓.๕ นำแบบประเมินไปใช้

                        ๑.๔ แนวคิดการประเมินหลักสูตรเคิร์กแพทริก (Kirkpatrick, 1994)
                             เสนอการประเมินผลการประเมินการฝึกอบรมซึ่งเป็นการประเมินผลสรุป                     แบ่งประเมินเป็น ๔ ระดับคือ
                             ระยะที่ ๑        การประเมินปฏิกิริยา
                             ระยะที่ ๒        การประเมินการเรียนรู้
                             ระยะที่ ๓        การประเมินพฤติกรรม
                             ระยะที่ ๔        การประเมินผลลัพธ์

                        ๑.๕ แนวคิดของเลสเลย์และแกรนท์ (Lesley Southgate and janet Grant, 2005)
                             ได้เสนอหลักการในการประเมินระบบการฝึกอบรม สรุปได้ดังนี้
                             มาตรฐาน ๑     หลักการและเหตุผล
                             มาตรฐาน ๒     เนื้อหาสาระในการเรียนรู้
                             มาตรฐาน ๓     แบบจำลองในการเรียนรู้
                             มาตรฐาน ๔     ประสบการณ์การเรียนรู้
                             มาตรฐาน ๕     การนิเทศและข้อมูลย้อนกลับ
                             มาตรฐาน ๖     การจัดการนำหลักสูตรไปใช้
                             มาตรฐาน ๗     การตรวจทบทวนหลักสูตรและการปรับปรุง
                             มาตรฐาน ๘     คุณภาพและความหลากหลายรูปแบบ

          ๒. แบบจำลองการประเมินหลักสูตร
                   ๒.๑ สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam. 1995) ได้เสนอแนวคิดการประเมินโครงการ                          ในชื่อว่า CIPP Model มีขั้นตอนการประเมินดังนี้
                             ๒.๑.๑ การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C)
                             ๒.๑.๒ การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I)
                             ๒.๑.๓ การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P)
                             ๒.๑.๔ การประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P)

๒.๒ โรเบิร์ต อี.สเต็ค (Robert E. Stake, 1995) ได้เสนอรูปแบบการประเมินแบบตอบสนอง เพื่อการประเมินโครงการทางการศึกษา (Education program evaluation) มีทั้งหมด ๒ ขั้นตอน  
          ๒.๒.๑ การบรรยาย (Description)
          ๒.๒.๒ การตัดสินใจ (Judgment)

            ๓. การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
                   การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร (Curriculum Based Assessment: CBA) เป็น           การประเมินประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน ซึ่งทำให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีดังนี้
                   ๓.๑. แบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง (authentic test)
                   ๓.๒ แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้
                   ๓.๓ การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน
                   ๓.๔ การเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้โดยใช้ The SOLO Taxonomy

๒. การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) “การเขียนเพื่อการสื่อสาร” อาศัยแนวคิดคำถามข้อที่ ๔ ของ Tyler ที่สรุปได้ว่า ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร (Tyler, 1949, p.63) ดังนั้นข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินหลักสูตรมีดังนี้
            ๒.๑ การประเมินหลักสูตร
                   เป็นการรวบรวมข้อมูลหลักฐานและตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับหลักสูตร คือ การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ เลือกใช้แนวคิดการประเมินหลักสูตรของ สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam. 1995) ได้เสนอแนวคิดการประเมินโครงการในชื่อว่า CIPP Model มีขั้นตอนการประเมินดังนี้ 


                    ภาพที่ ๒  แบบจำลองการประเมินแบบ CIPP
                   ที่มา : Daniel L. Stufflebeam (2007: 333)

                        ๑. การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C)
                             เป็นการประเมินโครงการ มีการพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ การกำหนดประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ
                        ๒. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I)
                             เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นพิจารณา คือ การเลือกแผนงานโครงการ                 อันเนื่องมาจากความพร้อมของปัจจัยนำเข้า โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมและความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
                        ๓. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P)
                             เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นการพิจารณา เพื่อหาจุดเด่นจุดด้อย และประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องของกระบวนการของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาแก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากร
                        ๔. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P)
                             เป็นการประเมินโครงการ มีประเด็นการพิจารณาเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ

            ๒.๒ การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
                   การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร(Curriculum Based Assessment: CBA) เป็น           การประเมินประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน ซึ่งทำให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ เลือกเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ ๒ ชนิด คือ
                        ๑. แบบวัดความสามารถตามสภาพจริง
                             โดยมีขั้นตอนการพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถตามสภาพจริง ดังนี้
                             ๑.๑ กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบทดสอบ
                                      - สร้างแบบทดสอบ
                                      - พัฒนาคุณภาพของแบบทดสอบ
                             ๑.๒ ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างข้อคำถามและเกณฑ์การให้คะแนน
                             ๑.๓ ศึกษาหลักสูตร เพื่อกำหนดขอบเขตของเนื้อหา พฤติกรรมที่ต้องการวัด
                             ๑.๔ นิยามขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ประเมินพฤติกรรมที่แสดงออก
                             ๑.๕ กำหนดลักษณะเฉพาะและพฤติกรรมที่ต้องการประเมิน
                             ๑.๖ เขียนข้อความตามนิยามคุณลักษณะและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
                             ๑.๗ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
                             ๑.๘ นำแบบทดสอบไปทดสอบครั้งที่ ๑ กับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
                             ๑.๙ นำผลการทดสอบครั้งที่ ๑ วิเคราะห์หาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก โดยพิจารณาค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ ๐.๒๐ ขึ้นไป และค่าความยากง่ายตั้งแต่ ๐.๒๐ - ๐.๘๐
                             ๑.๑๐ นำข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์จากการทดสอบครั้งที่ ๑ ไปทดสอบกับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างและหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร Kuder-Richardson (K-R 20)
                        ๒. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
                             พัฒนาแบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในการเรียนรู้มีขั้นตอนการพัฒนาดังนี้
                             ๒.๑ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คำนิยามพฤติกรรมของผู้เรียนที่ต้องการสังเกต
                             ๒.๒ นำนิยามคุณลักษณะของผู้เรียนไปให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยวตรงเนื้อหา
                             ๒.๓ กำหนดตัวชี้วัดในแต่ละคุณลักษณะ
                             ๒.๔ สร้างเกณฑ์ระดับค่าของตัวชี้วัดในการสังเกตคุณลักษณะของผู้เรียน
                             ๒.๕ นำเกณฑ์ในการสังเกตคุณลักษณะและตัวชี้วัดในแต่คุณลักษณะที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาตรวจพิจารณาเกณฑ์ในการสังเกตคุณลักษณะของผู้เรียนและพฤติกรรมที่มุ่งวัดในแต่ละคุณลักษณะที่สร้างขึ้น
                             ๒.๖ นำเกณฑ์ในการสังเกตที่มุ่งวัดในแต่ละด้านไปสร้างแบบสังเกตพฤติกรรม                การแสดงออกในการเรียนรู้
                   ๓. เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้
                             เลือกใช้เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ The SOLO Taxonomy เนื่องจากว่าเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) ที่มุ่งประเมินศักยภาพของผู้เรียนอันเป็นผลจากการใช้หลักสูตร โดยมีขั้นตอนดังนี้

การจัดระดับ SOLO
คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
๑) ระดับโครงสร้างขึ้นพื้นฐาน (Pre - structural) 

ผู้เรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วน ๆ ที่ไม่ปะติดปะต่อกันไม่มีการจัดการข้อมูล 
๒) ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni - structural)

ผู้เรียนเชื่อโยงข้อมูลพื้นฐานชนิดเข้าด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์
๓) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Muti - structural)

ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ

๔) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
    (Relational - level)

ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้นักเรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงข้อมูลและภาพรวมได้
๕) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)

นักเรียนเชื่อมโนงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับผู้เรียนสามารถและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง

         
๓. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่

แผนการประเมิน (Evaluation Plan)

การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การประเมินผลหลักสูตร
๑. เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
   ๑.๑ การประเมินแบบวัดความสามารถตามสภาพจริง
   ๑.๒ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
๒. รูปแบบการประเมิน
    เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ SOLO Taxonomy ทั้ง ๕ ระดับ ได้แก่
๑) ระดับโครงสร้างขึ้นพื้นฐาน
   (Pre - structural)
๒) ระดับโครงสร้างเดี่ยว
   (Uni - structural)
๓) ระดับโครงสร้างหลากหลาย
    (Muti - structural)
๔) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง   (Relational - level)
๕) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)

ใช้รูปแบบการประเมิน สตัฟเฟิลบีม  (Daniel L. Stufflebeam. 2007) มี ๔ ขั้น ได้แก่
 ๑. การประเมินสภาวะแวดล้อม
    (Context Evaluation: C)
๒. การประเมินปัจจัยนำเข้า
    (Input Evaluation: I)
๓. การประเมินกระบวนการ
   (Process Evaluation: P)
๔. การประเมินผลผลิต
    (Product Evaluation: P)


บรรณานุกรม

สุเทพ อ่วมเจิรญ. (๒๕๕๖). รายงานการวิจัย การพัฒนาแบบจำลอง SU Model: นวัตกรรมส่งเสริม การเรียนรู้วิศวกรรมหลักสูตร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
­­­_______. (๒๕๕๗). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
_______. (๒๕๕๗). การเรียนการสอน: การออกแบบ นวัตกรรมและเทคโนโลยี. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
Bigg J and Collis K. (1982). Evaluation the Quality of Learning: the SOLO taxonomy. New York: Academic Press.
Daniel L. Stufflebeam (2007). Evaluation Theory, Models, and Application. John Wiley and sons.
Bloom, Benjamin S. (1984). Taxonomy of Education Objective: book 1 cognitive domain.                New York: David Mckey.
Tyler, R.W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.



.......................................................................................

 โดย : นายสง่า วงค์ไชย รหัสนักศึกษา 57255911
            สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มการสอนภาษาไทย)
            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  คณะศึกษาศาสตร์
            มหาวิทยาลัยศิลปากร 



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม