บันทึกการเข้าฟังการอบรม : การจัดการเรียนรู้ยุคศตวรรษที่ ๒๑


นายสง่า วงค์ไชย
รหัสนักศึกษา 57155911
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการสอน
กลุ่มการสอนภาษาไทย

ศตวรรษที่ ๒๑: แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้

ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒๙ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ผมได้รับเชิญให้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑” ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ซึ่งวิทยากรที่ให้เกียรติมาอบรม คือ รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และรศ.พเยาว์ ยินดีสุข เนื้อหาส่วนใหญ่มาจากหนังสือเล่มผนวกกับเอกสารประกอบการอบรมอื่น ๆ ดังนี้ 


                   ภาพที่ ๑   การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
  (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข, ๒๕๕๗)
ที่มา: WWW.Chulabook.COM

สาระและเนื้อหาดังกล่าว พอจะสรุปได้ดังนี้
การจัดการเรียนการสอนในยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีแนวคิดการจัดการเรียนการสอนและกลยุทธ์     การสอนเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมีปฏิสัมพันธ์จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง
วิธีสอน รูปแบบการสอนและแนวการสอนทั้งหลายส่วนมากกล่าวได้ว่าอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์และหลังจากสรุปความรู้หรือสร้างความรู้แล้ว ผู้เรียนจะมีโอกาสทำกิจกรรมนำความรู้ไปใช้ประยุกต์ในสถานการณ์ใหม่อันเป็นแกนสำคัญของขั้นตอนการเรียนการสอนของวิธีสอน แนวการสอนและรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหลากหลายซึ่งอยู่บนฐานหรือสนับสนุนด้วยทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์เป็นหลัก
          อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์จะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อสรรหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและเสริมสร้างผลการเรียนรู้ของนักเรียนกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ใช้เสริมสร้างผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 มีดังนี้
วิธีสอน
                     ๑. วิธีสอนแบบสืบสอบ
                     ๒. วิธีสอนแบบโครงงาน
                     ๓. วิธีสอนแบบอุปนัย             
รูปแบบการสอน
                     ๑. รูปแบบการเรียนรู้ CIPPA
                     ๒. รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน
                     ๓. รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
                     ๔. รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน   
          แนวการสอน
                     ๑. การจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง
                     ๒. การเรียนรู้ใช้โครงงานเป็นฐาน
                     ๓. การเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐาน
                     ๔. การเรียนรู้ใช้วิจัยเป็นฐาน
                     ๕. การเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐาน
                     ๖. การเรียนรู้ใช้กิจกรรมเป็นฐาน
                     ๗. การเรียนรู้ใช้สถานการณ์จำลองเป็นฐาน
                     ๘. การเรียนรู้ใช้ประเด็นสังคมเป็นฐาน
                     ๙. การเรียนรู้ใช้ประเด็นสังคมเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เป็นฐาน
                     ๑๐. กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
          กล่าวโดยสรุป กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ จำเป็นต้องนำกลยุทธ์ที่ใช้                     เพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้กับผู้เรียนโดยคำนึงถึงวิธีสอน  รูปแบบการสอน  และแนวทางการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนักเรียนในยุคศตวรรษที่ ๒๑
          นอกจากนี้ครูผู้สอนอาจจำเป็นต้องนำเทคนิคการสอนต่าง ๆ หรือกระบวนการเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างหลากหลายให้กับนักเรียน เช่น
เทคนิคการสอน
                     ๑. เทคนิคการใช้คำถาม
                     ๒. เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                     ๓. เทคนิคการเรียนรู้เสริมสร้างพหุปัญญา
                     ๔. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
                     ๕. เทคนิคการเสริมแรง
                     ๖. เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
                     ๗. เทคนิคหมวก ๖ ใบของเดอโบโน    
           
กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๔๕) ได้กล่าวถึงกระบวนการรู้ที่ใช้เสริมสร้างทักษะการคิด ดังนี้
          ๑. กระบวนการสืบสอบ
                     ๑) ระบุคำถามสำคัญ (key question)
                     ๒) ตั้งสมมติฐานหรือคาดคะเนคำตอบ
                     ๓) ออกแบบเพื่อรวบรวมข้อมูลและแสวงหาสารสนเทศ
                     ๔) วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล
 ๕) แปลความหมายข้อมูลและสรุปผลหรือสร้างคำอธิบาย
          ๒. กระบวนการทำ โครงงาน
                     ๑) ระบุคำถามโครงงาน (project questions หรือ research questions)
                     ๒) วางแผนทำ โครงงาน
                     ๓) ดำ เนินการทำ โครงงาน
                     ๔) วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล
                     ๕) สรุปผลและประเมิน
          ๓. กระบวนการสร้างมโนทัศน์ประเภทความหมาย
                     ๑) สังเกตด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
                     ๒) แยกแยะความเหมือนและความต่าง
                     ๓) หาลักษณะร่วม
                     ๔) ระบุชื่อความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์
                     ๕) สรุปหรือสร้างมโนทัศน์
          ๔. กระบวนการวิเคราะห์
                     ๑) สังเกต
                     ๒) จำแนกแยกแยะ
                     ๓) จัดหมวดหมู่อาจใช้สถิติประกอบ
                     ๔) สรุปผลการวิเคราะห์
 ๕. กระบวนการสื่อความหมายข้อมูล
                     ๑) วิเคราะห์หรือจัดกระทำข้อมูล
                     ๒) เลือกแบบการนำ เสนอให้เหมาะสมกับข้อมูล
                     ๓) ปฏิบัติการเสนอข้อมูล
                     ๔) ประเมิน หรือตรวจสอบ
                     ๕) ระบุชื่อแบบการนำเสนอข้อมูล
 ๖. กระบวนการสังเคราะห์
                    ๑) วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป
                     ๒) ระบุลักษณะเด่น และลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ
                     ๓) ผสมผสานลักษณะเด่นเพื่อสร้างสิ่งใหม่
                     ๔) สร้างสิ่งใหม่ที่มีความแตกต่างจากสิ่งเดิม
          ๗. กระบวนการกลุ่ม
                     ๑) ระบุเป้าหมายและชี้แจงให้เข้าใจตรงกัน
                     ๒) วางแผนการดำ เนินงาน
                     ๓) ดำ เนินงานตามแผนอย่างร่วมมือร่วมใจ
                     ๔) ประเมินผลการทำงาน
                     ๕) สรุปผลการทำงาน
 ๘. กระบวนการเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติ
                     ๑) สังเกต
                     ๒) ทำตามต้นแบบ
                     ๓) ทำ งานโดยไม่มีต้นแบบ
                     ๔) ฝึกหัด
            ๕) ริเริ่มสร้างงานใหม่
ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การสอน แนวการสอน รูปแบบการเรียนการสอน และวิธีสอนต่างๆ ซึ่งแต่ละวิธีนั้นประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ ทั้งกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดและปฏิบัติ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างทักษะการคิดและกระบวนการคิด ทักษะปฏิบัติอันเป็นความชำนาญทั่วไป และความชำนาญของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่ละสาขาวิชา ซึ่งผู้สอนควรเห็นความสำคัญและนำ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งยุคนี้และยุคใหม่
จะเห็นแนวคิดและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ จากการเข้าฟังอบรมครั้งนี้ถือเป็นแนวทางการจุดประเด็นให้ครูที่เข้าฟังการอบรมกระตุ้นเพื่อ “ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน” เพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ หรือโลกแห่งการแข่งขัน
  

................................................................................................

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม