III ปฏิบัติการจัดการหลักสูตร (Curriculum Organization)




III ปฏิบัติการจัดการหลักสูตร (Curriculum Organization)

          การปฏิบัติการขั้นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) เป็นขั้นตอนของการขัดระบบหลักสูตรว่าจะต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามการวางแผนหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับคำถามข้อที่สามของไทเลอร์ (Tyler) คือ    การจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่มีประสิทธิภาพ
               
๑. การทำความกระจ่างชัดในความรู้
            การจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) การจัดทำหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมีความหมายถึง    การบริหารจัดการหลักสูตร การนิเทศกำกับติดตาม และการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการเรียนที่มีทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ในการจัดหลักสูตรครั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลดังนี้
            ๑. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
                        ๑.๑ แนวคิดการจัดหลักสูตรที่ดี ของ ออร์นสไตน์และฮันคินส์ (1993) มีดังนี้
                             ๑.๑.๑ การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร
                             ๑.๑.๒ การจัดลำดับการเรียนรู้
                             ๑.๑.๓ ความต่อเนื่อง
                             ๑.๑.๔ ความสอดคล้องเชื่อมโยง
                             ๑.๑.๕ การบูรณาการ
                             ๑.๑.๖ ความสมดุล
                   ๑.๒ ศึกษายุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ในเอกสารการประชุมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ (APIED, 1997)
                             ๑.๒.๑ วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและการจัดทรัพยากรให้พร้อม
                             ๑.๒.๒ จัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้เป็นได้สะดวกและรวดเร็ว
                             ๑.๒.๓ กำหนดวิถีทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน รวมเหตุผลต่าง ๆ ที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลงานปฏิบัติงาน
                   ๑.๓ หลักการนำหลักสูตรไปใช้ของ วิชัย วงษ์ใหญ่ (๒๕๕๑)
                             ๑.๓.๑ เตรียมวางแผน
                             ๑.๓.๒ เตรียมจัดอบรม
                             ๑.๓.๓ การจัดครูเข้าสอน
                             ๑.๓.๔ การจัดตารางสอน
                             ๑.๓.๕ การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
                             ๑.๓.๖ การประชาสัมพันธ์
                             ๑.๓.๗ การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                             ๑.๓.๘ การจัดโครงการประเมินผล
                    ๑.๔ หลักทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychological Association; APA)
                             หลักการข้อที่ ๑           ธรรมชาติของกระบวนการเรียนเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๒          เป้าหมายของกระบวนการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๓          การสร้างองค์ความรู้
                             หลักการข้อที่ ๔          วิธีการเชิงกลยุทธ์
                             หลักการข้อที่ ๕          กลวิธีในเรื่องการคิด
                             หลักการข้อที่ ๖           บริบทของการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๗          แรงจูงใจและอารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๘          แรงจูงใจภายในของการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๙           ผลของแรงจูงใจที่มีต่อความพยายามที่จะเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๑๐         อิทธิพลในเชิงพัฒนาการต่อการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๑๑         อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๑๒        ปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้
                             หลักการข้อที่ ๑๓         การเรียนรู้กับความหลากหลายของผู้เรียน
                             หลักการข้อที่ ๑๔         มาตรฐานและการประเมินผลการเรียนรู้
                   ๑.๕ หลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอน ของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ
                             ๑. การสร้างสรรค์ประสบการทางการเรียนที่ผู้เรียนมีส่วน มีแรงจูงใจ และมีแรงกระตุ้นปัญญา
                             ๒. ส่งเสริมสนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหาและตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมการสรรค์สร้างอย่างมีความคิดสร้างสรรค์โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
                             ๓. เน้นความสำคัญ ความเกี่ยวโยง และบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นมืออาชีพเพื่อให้กับการแก้ปัญหาที่นำไปใช้ได้จริง
                             ๔. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัมนาความสามารถระหว่างวัฒนธรรมที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกันทั้งด้านสังคมอละการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
                             ๕. คุณค่าและความทรงจำของแต่ละบุคคลและวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาเป็นมาตรการในบริบทของการสันบสนุนและเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
                             ๖. การเพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนมีผลต่อกาประสิทธิผลของผลหลักสูตร การสอนและกลยุทธของการประเมิน
                             ๗. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่องเป็นการพัฒนาวิชาชีพ และการสะท้อนความคิดให้สารสนเทศด้วยการประยุกต์แนวคิดของการวัดและประเมิน
                   ๑.๖ ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการเรียนการสอน

          ๒. การบริหารหลักสูตร (Curriculum Management)
                        ศึกษากลวิธีในการเรียนการสอน ได้แก่
                        ๒.๑ กรอบแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนตามแบบจำลอง ADDIE Model
                             ๑. การวิเคราะห์ (A : Analysis)
                             ๒. การออกแบบ (D : Design)
                             ๓. การพัฒนา (D : Development)
                             ๔. การทดลองใช้ (I : Implementation)
                             ๕. การประเมินผล (E : Evaluation)
                   ๒.๒ รูปแบบการสอนเป็นมิติการเรียนรู้ (dimension of learning)
                             มิติที่ ๑ เจตคติและการเรียนรู้
                             มิติที่ ๒ การแสวงหาความรุ้และการบูรณาการความรู้
                             มิติที่ ๓ การขยายและปรับแต่งความรู้
                             มิติที่ ๔ การใช้ความรู้อย่างมีความหมาย
                             มิติที่ ๕ จิตนักคิด
                   ๒.๓ แนวคิดการเรียนการสอนตามการแบทฤษฎี
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivit Learning Methods: CLM) แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ
๑. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
๒. การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
๓. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
                   ๒.๔ แนวคิดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ด้วยแบบจำลอง Johm Biggs’ 3-P Model มีกระบวนการดังนี้
                             ๑. Presage
                             ๒. Process
                             ๓. Product
                   ๒.๕ แนวคิดการเรียนการสอนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน ขั้นตอนดังนี้
                             ๑. วิเคราะห์ความต้องการ/พัฒนาการเรียนรู้
                             ๒. วางแผนจัดการเรียนรู้
                             ๓. การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
                             ๔. การสรุปความรู้
                             ๕. การประเมินเพื่อปรับปรุงและนำผลไปใช้ในการพัฒนา

๒. การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
การจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) “การเขียนเพื่อการสื่อสาร” อาศัยแนวคิดคำถามข้อที่ ๓ ของ Tyler ที่สรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ (Tyler, 1949, p.63) ดังนี้
            ๒.๑ การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
การนำหลักสูตรไปใช้จะยึดตามหลักการนำหลักสูตรไปใช้ แนวทางจัดหลักสูตรที่ดีตามแนวคิดของ ออร์นสโตน์และฮันคินส์ (1993: p.236-241) คือ ๑) การกำหนดขอบข่ายของหลักสูตร                            ๒) การจัดลำดับการเรียนรู้ ๓) ความต่อเนื่อง ๔) ความสอดคล้องเชื่อมโยง ๕) การบูรณาการ  ๖) ความสมดุล
จากเอกสารการประชุมของกลุ่มประเทศต่าง ๆ (APIED, 1997) เรื่อง ยุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ได้สรุปเป็นหลักการสำคัญ ดังนี้
                   ๑. วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและการจัดทรัพยากรให้พร้อม
                   ๒. จัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้เป็นได้สะดวกและรวดเร็ว
                   ๓. กำหนดวิถีทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน รวมเหตุผลต่าง ๆ              ที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลงานปฏิบัติงาน
การนำหลักสูตรไปใช้จะยึดกรอบทฤษฎีของ Bloom’s Taxonomy และรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivit Learning Methods: CLM) แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ
๑. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
          เป็นขั้นตอนที่เด็กและผู้ใหญ่มีความคิดดั้งเดิมและมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกหรือปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ (แนวคิด) ดังกล่าว ความคิดของเด็ก (ผู้เรียน) นั้นท้าทายความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ชักชวนให้เด็ก (ผู้เรียน) ละทิ้งหรือเปลี่ยนแนวคิดและยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
๒. การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
          การวางแผนแบบร่วมกัน คือ การวางแผนเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง ผู้เรียนได้รับข้อมูลว่าจะต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้าง อภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ให้ขอบข่ายสาระสำคัญในเรื่องที่เรียนรู้
๓. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
                                      ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความร้ใหม่ที่สร้างขึ้นของคนส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และความรู้ถูกทำให้กระจ่างและยืนยันความถูกต้องเมื่อผู้เรียนนำความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์

          ๒. การบริหารหลักสูตร (Curriculum Management)
          เมื่อได้หลักการนำหลักสูตรไปใช้ตาม APIED แล้วจะต้องบริหารหลักสูตร (Curriculum Management) โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามรายงานหลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามที่สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา สรุปหลักการไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๙๕ จำนวน ๑๔ ข้อดังนี้
                   หลักทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychological Association; APA) ได้แก่ ๑) ธรรมชาติของกระบวนการเรียนเรียนรู้ ๒) เป้าหมายของกระบวนการเรียนรู้ ๓) การสร้างองค์ความรู้ ๔) วิธีการเชิงกลยุทธ์                      ๕) กลวิธีในเรื่องการคิด ๖) บริบทของการเรียนรู้ ๗) แรงจูงใจและอารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้                              ๘) แรงจูงใจภายในของการเรียนรู้ ๙) ผลของแรงจูงใจที่มีต่อความพยายามที่จะเรียนรู้ ๑๐) อิทธิพลในเชิงพัฒนาการต่อการเรียนรู้ ๑๑) อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อการเรียนรู้ ๑๒) ปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้ ๑๓)    การเรียนรู้กับความหลากหลายของผู้เรียน ๑๔) มาตรฐานและการประเมินผล                     การเรียนรู้

๓. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่

โครงสร้างรายวิชา (Lesson Plan)  

โครงการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รายวิชา ท ๔๐๒๐๑ (รายวิชาเพิ่มเติม)                                                        การเขียนเพื่อการสื่อสาร   
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ -๖                           ๔๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน                                   ๑.๐ หน่วยกิต
 


๑.   คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของการเขียนเพื่อการสื่อสาร ฝึกเขียนสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ภาษาได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ รูปแบบ และเนื้อหาสาระ รวมทั้งประเมินงานเขียนของผู้อื่น และนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง มีมารยาทในการเขียน
๒.       ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
๑. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของการเขียนเพื่อการสื่อสารได้
๒. อธิบายรูปแบบการเขียนสื่อสารแต่ละประเภทได้
๓. ใช้ถ้อยคำและภาษาในการเขียนได้ถูกต้อง
๔. เขียนสื่อสารผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศตามรูปแบบต่าง ๆ ได้
๕. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นได้
๖. นำผลการประเมินมาพัฒนางานเขียนของตนเองได้
๗. มีมารยาทในการเขียน

๓.       สาระการเรียนรู้
๑. ความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของการเขียนเพื่อการสื่อสาร
๒. รูปแบบการเขียนเพื่อการสื่อสาร ได้แก่ เขียนสรุปความ เขียนแสดงความคิดเห็น เขียนวิจารณ์ เขียนเล่าเรื่อง เขียนอธิบายความรู้ เขียนสร้างสรรค์
          ๓. การใช้ถ้อยคำและภาษาในการเขียน
          ๔. การประเมินคุณค่าของการเขียน
          ๕. การพัฒนาทักษะการเขียน
          ๖. มารยาทในการเขียน


บรรณานุกรม

สุเทพ อ่วมเจิรญ. (๒๕๕๖). รายงานการวิจัย การพัฒนาแบบจำลอง SU Model: นวัตกรรมส่งเสริม การเรียนรู้วิศวกรรมหลักสูตร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
­­­_______. (๒๕๕๗). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
_______. (๒๕๕๗). การเรียนการสอน: การออกแบบ นวัตกรรมและเทคโนโลยี. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
APEID. (1977). Report on work plans of APEID foe the second programming cycle, 1978-1981: Programme development meeting, Chiangmai, Thailand, 26 April-6 May.
Allan C.Ornstien & Francis P. Hunkins. (1998). Curriculum Foundation, Principle and Issue. Boston: Allyn and Bacon.
Bloom, Benjamin S. (1984). Taxonomy of Education Objective: book 1 cognitive domain.                New York: David Mckey.
Tyler, R.W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.


.......................................................................................

            โดย : นายสง่า วงค์ไชย รหัสนักศึกษา 57255911
            สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มการสอนภาษาไทย)
            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  คณะศึกษาศาสตร์
            มหาวิทยาลัยศิลปากร 

          

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม